ค่านิยมการตั้งชื่อ


ค่านิยมการตั้งชื่อ

ในยุคสมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม บริหารประเทศ ระหว่างปี 2482-2489 ถือเป็นการเดินหน้าสู่ยุคที่เรียกว่า “รัฐนิยม” มีการออกกฎระเบียบหลายอย่างเพื่อให้คนไทยถือปฏิบัติเพื่อให้ดูเป็นอารย ประเทศเหมือนต่างชาติ เช่น ให้คนไทยหันมาใส่หมวกทุกครั้งที่ออกจากบ้าน

นอกจากนี้ท่านผู้นำยังได้ส่งเสริมให้คนไทยใช้ชื่อและนาม สกุลให้เป็นไทยแท้ ๆ ถ้าใครตั้งชื่อสกุลเหมือนต่างชาติก็จะต้องเปลี่ยน ในยุคนี้ชื่อของผู้ชายจึงต้องเป็นชื่อไทยที่มีความหมายสมชายชาตรี จะให้ชื่อก้ำกึ่งแบบผู้หญิงไม่ได้ อย่างชื่อ “สมจิตร” แปลว่าสำเร็จสมดังตั้งใจ กลับถูกมองว่าชื่อฟังดูเป็นผู้หญิงไปหน่อย

ดังนั้นบ้านใดที่มีลูกชายก็มักจะให้ชื่อ “ สมชาย ” เกือบทุกบ้าน ชื่อสมชายจึงกลายเป็นชื่อยอดฮิตติดอันต้น ๆ ตำนานที่มาของชื่อสมชายจึงเริ่มตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันนี้แม้จะไม่มีการสำรวจอย่างเป็นทางการว่าคนใช้ชื่อสมชายเป็น จำนวนเท่าใด แต่สามารถประมาณได้ว่าเป็นจำนวนหลายล้านคนทีเดียว

ชื่อยอดฮิตอย่างสมชาย เริ่มจางหายไปในยุคหลังต้นปี 2500 เพราะบรรดาพ่อแม่ชนชั้นกลางที่เริ่มมีการศึกษาสูงและเป็นกลุ่มคนที่เป็นฐาน สำคัญของเศรษฐกิจ ค่านิยมของพ่อแม่ยุคนี้จึงต้องการหาชื่อที่ดีให้กับลูก ซึ่งส่วนมากจะอาศัยหมอดูหรือพระในการตั้งชื่อด้วยการผูกดวง จึงกลายเป็นยุคที่เริ่มมีศาสตร์ในการตั้งชื่อต่าง ๆจากต่างประเทศ เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น

ชื่อในยุคต่อ ๆ มาจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความนิยมอย่างไม่มีรูปแบบตายตัว อย่างเช่นบางยุคก็นิยมตั้งชื่อให้สั้นเพื่อให้ดูเก๋ไก๋ โดยเฉพาะชื่อเด็กผู้ชาย เช่น พชร , ตฤณ , บรม , บดี เป็นต้น มาบางยุคกลับไปนิยมตั้งชื่อให้ยาวเข้าไว้ฟังดูจะได้ไม่ซ้ำกับใคร ขณะที่บางยุคจะแห่ตั้งชื่อตามคนมีชื่อเสียงหรือตัวละครในนิยายยอดฮิตที่คน อ่านติดกันทั้งเมือง เป็นต้น

ขณะที่บางยุคก็นิยมตั้งชื่อด้วยภาษาไทยล้วน ๆ ซึ่งฟังแล้วสามารถแปลความหายได้ทันที เช่น กรองทอง ทศพร แขไข เป็นต้น พอมาถึงอีกยุคหนึ่งกลับไปนิยมใช้ภาษาบาลี สันสกฤต มาตั้งชื่อ ซึ่งโดยมากจะเป็นพระตั้งให้

มาถึงยุคปัจจุบันนี้ ค่านิยมในการตั้งชื่อดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนแทบไม่มีหลักเกณฑ์ อะไรให้ยึดเกาะแล้ว เช่นเมื่อไม่นานมานี้ วีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ออกมากล่าวว่าคนไทยยุคนี้มีค่านิยมการตั้งชื่อเล่นลูกที่ผิดไปจากเดิมมาก เพราะหันไปใช้ชื่อเป็นภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาคอีสานที่นิยมตั้งชื่อลูก เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งหากยังไม่มีการแก้ไข จะส่งผลให้ใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยนถึงขั้นวิบัติได้

กระแสการตั้งชื่อที่ดูผิดเพี้ยนไปจากเดิมจนมีนัก ภาษาศาสตร์หลายคนขึ้นมาตั้งข้อสังเกตว่าคนไทยในยุคนี้หันมาเปลี่ยนชื่อกัน มาก ซึ่งหลาย ๆ ชื่อทั้งเขียนยากและอ่านยากไปด้วย บางครั้งไม่มีคำแปลด้วย ขณะที่เริ่มมีการนำพยัญชนะที่สมัยก่อนไม่นิยมนำมาใช้ เช่น ฎ ฏ ฬ ฐ ฆ รวมไปถึงการใช้ “การันต์” ผิดที่ผิดทาง

ที่มา : จากหนังสือพิมพ์ “ผู้จัดการออนไลน์”เรื่องโดย ปาณี ชีวาภาคย์